การสังเคราะห์ข้อมูลผลงาน
อสม. ดีเด่นระดับชาติ
และ อสม.ดีเยี่ยม
กลุ่มของผลงาน การจัดการสุขภาพชุมชน อสม. ดีเด่นระดับชาติ ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ.๒๕๕๗
ชื่อผลงาน การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ บ้านหนองกวาง ต.ลานหอย อ.ด่านลานหอย จ.สุโขทัย
สาขาที่เด่นของผลงาน สาขาคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
เจ้าของผลงาน (อสม.) นางสุพรรณ เพชรสุข
สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ ๑๑๐ หมู่ ๔ ต.ลานหอย อ.ด่านลานหอย จ.สุโขทัย
บทคัดย่อ
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมภายใต้โลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภคอันเนื่องมาจากความไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และการให้บริการต่างๆ เช่น ยาชุดแก้ปวดที่ไม่ได้การรับรองมาตรฐาน เครื่องสำอางต้องห้าม การนำน้ำมันพืชมาใช้ซ้ำเพื่อประกอบอาหาร การใช้ภาชะที่มีองค์ประกอบของตะกั่วสำหรับการประกอบอาหาร และ การใช้ใบมีดโกนซ้ำในร้านเสริมสวย เป็นต้น ผลงานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินแผนงานคุ้มครองผู้บริโภค ณ บ้านหองกวาง ต.ลานหอย อ.ด่านลานหอย จ.สุโขทัย โดยการใช้กลยุทธ์ ๕ ต. สำหรับการขับเคลื่อนงาน คือ ๑) ตู้ สำหรับรับข้อร้องร้องเรียนในหมู่บ้าน ๒) โต๊ะ ตั้งโต๊ะตรวจหาสารพิษตกค้าง ๓) ตอบ สำหรับตอบปํญหาผู้ประกอบการและผู้บริโภค ๔) ต่อต้าน ทำการรณรงค์ต่อต้านผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน และ ๕) แตกต่าง ติดป้ายปลอดภัยสำหรับร้านอาหารให้มีความแตกต่าง ผลการดำเนินการพบว่า ไม่พบผลิตภัณฑ์ต้องห้ามในเครื่องสำอางและอาหารประเภทต่างๆ มีการร้องทุกข์และตรวจพบว่ามีผลิตภัณฑ์สมุนไพร ๓ ชนิด มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ซึ่งได้ดำเนินการแจ้งเตือนผู้ผลิตและผู้จำหน่าย และแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ดำเนินการต่อไป
สถานการ์และความสำคัญของปัญหา
นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๓ เป็นต้นมา ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมภายใต้โลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง บ้านหนองกวาง ต.ลานหอย อ.ด่านลานหอย จ.สุโขทัย เป็นชุมชนเมือง ตั้งอยู่ใกล้กับถนนสายหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงมีธุรกิจและการค้าขายคับคั่งทั้งตลาดปกติ (เปิดทุกวัน) และตลาดนัด (เปิดสัปดาห์ละ ๔ วัน ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ) ส่งผลกรทบให้เกิดประเด็นปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อันเนื่องมาจากความไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และการให้บริการต่างๆ เช่น ยาชุดแก้ปวดที่ไม่ได้การรับรองมาตรฐาน เครื่องสำอางต้องห้าม การนำน้ำมันพืชมาใช้ซ้ำเพื่อประกอบอาหาร การใช้ภาชะที่มีองค์ประกอบของตะกั่วสำหรับการประกอบอาหาร และ การใช้ใบมีดโกนซ้ำในร้านเสริมสวย เป็นต้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงต้องมีการดำเนินงาน ขจัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เครื่องสำอางต้องห้าม การบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ออกไปจากร้านค้าต่างๆในตลาด และชุมชนบ้านหนองกวาง
แนวคิดในการดำเนินการ/กรอบแนวคิด
ดำเนินงาน ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลลานหอย และชุมชนหมู่บ้านหนองกวาง อ.ด่านลานหอย จ.สุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๖
วัตถุประสงค์
เพื่อขจัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เครื่องสำอางต้องห้าม การบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ออกไปจากร้านค้าต่างๆในตลาด และชุมชนบ้านหนองกวาง
วิธีการ/ขั้นตอน/กระบวนงาน
แผนงานการดำเนินงาน ถูกจัดทำขึ้นภายใต้การประสานงานระหว่าง อสม. ผู้นำชุมชนหนองกวาง เทศบาลตำบลลานหอย และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอลานหอย โดยอสม. จัดทีมงานที่รับผิดชอบลงพื้นที่และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ภายใต้แผนกลยุทธ์ ๕ ต.
แผนกลยุทธ์ ๕ ต. ประกอบด้วย ๑) ตู้ สำหรับรับข้อร้องร้องเรียนในหมู่บ้าน ๒) โต๊ะ ตั้งโต๊ะตรวจหาสารพิษตกค้าง ๓) ตอบ ตอบปํญหาผู้ประกอบการและผู้บริโภค ๔) ต่อต้าน ทำการรณรงค์ต่อต้านผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน และ ๕) แตกต่าง ติดป้ายปลอดภัยสำหรับร้านอาหารให้มีความแตกต่าง
การดำเนินงาน อสม.ของหมู่บ้านหองกวาง จัดแบ่งออกเป็นทีม ดำเนินการตรวจผลิตภัณฑ์และร้านค้าต่างๆ ตามแผนกลยุทธ์ ๕ ต.
การประเมินผลสำเร็จของผลงาน
วิธีการประเมินผลสำเร็จ (การเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ) รายการผลิตภัณฑ์และการให้บริการที่ได้มาตรฐาน จำนวนผลิตภัณฑ์และการให้บริการที่ได้รับการร้องเรียนและดำเนินการต่อไป และ กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ผลผลิตที่เกิดขึ้น
• มีการร้องทุกข์และตรวจพบว่ามีผลิตภัณฑ์สมุนไพร ๓ ชนิด มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ซึ่งได้ดำเนินการแจ้งเตือนผู้ผลิตและผู้จำหน่าย และแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ดำเนินการต่อไป พร้อมกับประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆแจ้งให้ผู้บริโภคในพื้นที่ได้รับทราบ
• ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง อาหารปรุงสด ผัดสด สินค้าเบ็ดเตล็ด และ ร้านเสริมสวย ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
• ทีมงานอสม. ได้สาธิตและแนะนำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร นำน้ำพืชที่ใช้งานแล้วมาทำสบู่สำหรับล้างมือ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ประชาชนได้รับองค์ความรู้และเกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์และการใช้บริการต่างๆในชีวิตประจำวัน และเรียนรู้ถึงวิธีการที่จะเลือกผลิตภัณฑ์และการใช้บริการที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย อีกทั้งประชาชนยังได้พัฒนากระบวนการทางสังคมต่อต้านผลิตภัณฑ์และการใช้บริการที่ได้มาตรฐาน ความร่วมมือในการดำเนินงานคู้มครองผู้บริโภคมีการพัฒนาขึ้นมาเป็นเครือข่ายระดับอำเภอ และประสานการทำงานไปยังเครือข่ายอำเภออื่นๆ อันเป็นการสร้างกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ/ปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จของผลงาน
ด้านเจ้าของผลงาน นางสุพรรณ เพชรสุข มีพื้นฐานทางการศึกษาที่ดีและมีความสามารถในการจัดการบริหาร (สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต) อีกทั้งหน้าที่การงานที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลลานหอย สามารถประสานความร่วมมือกับเทศบาลตำบลหนองหอย และหน่วยงานอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ กอปร์กับความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ด้านทีมพี่เลี้ยง การสนับสนุนทางด้านวิชาการจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ
ด้านทีมบริหารจัดการ ทีมงาน อสม. มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นทีมงานคุณภาพที่มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้ประสบความสำเร็
ประวัติของ อสม.
นางสุพรรณ เพชรสุข อายุ ๔๗ ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต อาชีพข้าราชการการเมือง ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลลานหอย ระยะเวลาที่เป็นอสม. ๑๐ ปี